วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เคส (Case)


          อย่างที่รู้จักกันดีอยู่แล้วว่า เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่างๆ ของ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในซึ่งปัจจุบันนี้ เคส ที่นิยมใช้กันอยู่มีอยู่ด้วยกัน 5 แบบ คือ
  1. Full Power
  2. Medium Tower
  3. Mini Tower
  4. Desktop
  5. Slimline
เคส Full Power จะมีรูปร่างที่สูงที่สุดในบรรดาแบบ Tower และเคส แบบ Medium Mini ก็จะมีรูปร่างเล็กตามลำดับ โดยเคสชนิดนี้จะมีลักษณะสูงขึ้นไปด้านบนแต่เคส แบบ Desktop และ Slimline จะมีลักษณะราบตามแนวนอนสามารถวางจอภาพบนเคสชนิดนี้ได้ ทำให้คุณสามารถประหยัดเนื้อที่ในการวางจอภาพไปได้เป็นอย่างมาก แต่ข้อเสียคือถ้าจะต้องเปิดฝาเคส เพื่อจะทำการใด ๆ ภายในเคสจะต้องยกจอภาพออกมาก่อนจึงเปิดได้ เคสที่มีขนาดใหญ่จะมีข้อดีตรงที่สามารถเพิ่มอุปกรณ์ให้กับระบบได้มากกว่า เช่น อาจจะเพิ่มฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 หรือ 3 เพิ่มซีดีรอมไดรว์ ตัวที่สองหรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่น ๆ ถ้ามองจากด้านหน้าจะเห็นได้ว่าส่วนผู้ใช้จะใช้งานได้เพียงแค่ปุ่มสวิทช์ไม่กี่อัน ซึ่งปุ่มที่สำคัญคือ ปุ่มเปิด / ปิด เครื่อง (on /off หรือ power) ซึ่งมักจะเป็นปุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพื่อสะดวกในการใช้งานบางเครื่องจะมีปุ่มนี้เพียงปุ่มเดียวเท่านั้นที่อยู่บนเครื่อง แต่บางเครื่องจะมีปุ่มที่เล็ก ๆ ที่กำกับไว้ด้วย คำว่า reset เพื่อ ใช้แทนการเปิดปิดเครื่องใหม่โดยไม่มีการปิดเครื่องซึ่งเป็นเพียงแต่ควบคุม การทำงานของซีพียูให้กลับไปเริ่มต้นใหม่เหมือนเพิ่งเปิดเครื่องเท่านั้น ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าอาจจะมีปุ่มที่เขียนว่า turbo ซึ่งโดยปกติจะเป็น on แต่ถ้ากดซ้ำให้ off ก็จะเป็นการลดเครื่องเร็วของเครื่องลง เนื่องจากซอฟต์แวร์สมัยก่อนบางตัวอาจไม่สามารถทำงานได้ถูกต้อง ซึ่งตัวเครื่องใหม่รุ่นปัจจุบันไม่มีเรื่องแบบนี้อีกแล้ว ส่วนปุ่มที่เห็นได้ก็จะเป็นปุ่มของอุปกรณ์ในเครื่องซึ่งได้แก่ ดิสเก็ต (diskette หรือ floppy disk) และซีดีรอม (cd-rom) ซึ่งสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลจริง ๆ ไม่ได้ติดมากับตัวเรื่องแต่ปุ่มเหล่านี้จะใช้สำหรับนำแผ่นดิสก์หรือซีดีออกจากไดร์ฟเหล่านั้น
นอกจากนี้ด้านหน้าส่วนใหญ่อีกสองถึงสามดวง คือ ดวงที่จะติดสว่างอยู่ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องเพื่อแสดงว่าขณะนี้กำลังเปิดเครื่องอยู่ส่วนดวงไฟอีกดวงจะกระพริบเป็นบางครั้ง ก็คือไฟที่แสดงว่ากำลังมีการใช้งานฮาร์ดดิสก์อยู่ ซึ่งอยู่จะเป็นการอ่านหรือเขียนก็แล้วแต่ส่วนอีกดวงหนึ่งในปัจจุบันก็ไม่ค่อยเห็นกันแล้วก็คือไฟของปุ่ม turbo ส่วนด้านหลังของเครื่องจะเห็นช่องเสียบสายต่อต่าง ๆ จำนวนมากที่เครื่องพีซีได้เตรียมไว้สำหรับการใช้งานหลากหลาย ได้แก่ คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ ช่องต่อโมเด็ม (หรือที่เรียกว่า พอร์ตอนุกรม - serial port) ช่องต่อเครื่องพิมพ์ (หรือที่เรียกว่าพอร์ตขนาน - parallel port) พอร์ต USB พอร์ตเกมสำหรับต่อ จอยสติ๊ก และอาจจะมีช่องเสียบของลำโพง ไมโครโฟน สายเสียบโทรศัพท์ สายเน็ตเวิร์ก รวมทั้งช่องเสียบสายไฟเลี้ยงตัวเครื่องที่ต้องนำไปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟในบ้านหรืออื่น ๆ อีกมากมายตามแต่ว่าเครื่องนั้นมีอุปกรณ์อะไรติดตั้งอยู่บ้าง

อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ


                                                          โมเด็ม (Modem)




               เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภาย นอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบ คอมพิวเตอร์ของเราสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถ ทำงานของเราสามารสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงาน ของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วย การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคุ่สายของ โทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็ม จะทำการแปลงสัญญาณ ดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณ อนาล๊อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์

               คำว่า โมเด็ม (Modem) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน  หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล๊อกแล้วจึง สัญญาณกลับไปเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของเราต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่น

               ความสามารถของโมเด็ม    เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น

        ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน เช่นสั่งซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ต 
        ท่องไปบนอินเตอร์เน็ต 
        เข้าถึงบริการออนไลน์ได้ 
        ดาวน์โหลดข้อมูล , รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้ 
        ส่ง - รับโทรสาร 
        ตอบรับโทรศัพท์

                 ความแตกต่างของโมเด็ม

                 1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ  ความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็ม สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็ม อื่นๆ มีหน่วยเป็นบิต /วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/ วินาที (kbps)    ในการบอกถึง ความเร็วขอโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการ พูดและจดจำ

                 2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล   ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้น สามารทำให้มีขนาดกะทัดรัด ด้วย วิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวน มากๆ

                 3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร(Fax  capabilities) ได้ดีเช่น เดียวกับ การรับ ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟแวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้ แฟคซ์ โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (printer) ได้เมื่อเราพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสาร ของเราไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้

                4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่าง ๆ มากมาย หลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่า จะไม่ข้อมูลใด ๆสูญหายไประหว่างการส่ง ถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

                5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่ว ๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติด ตั้งภายนอก (external modems) และแบบติดตั้งภายใน (internal modems)

                6.ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถ ในการรับ/ ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)

                   

          เครื่องพิมพ์พ่นหมึก เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ที่ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่งกันมาก ๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นหมึก ใช้ในการพิมพ์ก็คือ การพ่นหมึกหยดเล็ก ๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้ว เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามความต้องการ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็น PPM (Page Per Minute) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มาก อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการพิมพ์ กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง กระดาษที่ใช้กับเครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5 X 11 นิ้ว หรือ A4 ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า "พอร์ทเทรต" (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า "แลนด์สเคป" (Landscape) โดยกระดาษจะถูกวางเรียงซ้อนกัน อยู่ในถาด และถูกป้อน เข้าไปในเครื่องพิมพ์ที่ละแผ่นเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)





                  เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิพม์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งาน กราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องเลเซอร์ใช้เทคโนโลยี เดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบน กระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษรบนกระดาษ

                  หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกในปัจจุบัน ความสามารถ ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที ซึ่งเหมาะ กับงานในองค์กรขนาดใหญ่ จะนำไปใช้งานในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ส่วนคุณภาพงานพิมพ์ของเครื่องจะวัด ด้วยความละเอียดในการสร้างจุดลงในกระดาษ ขนาด 1 ตารางนิ้ว เช่นความละเอียดที่  300 dpi หรือ 600 dpi หรือ 1200 dpi เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบ ขวา-ดำ และเครื่องพิมพ์ เลเซอร์แบบสี ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีจะมีราคาแพงมาก แต่งานพิมพ์ที่ได้ออกมาก็มีคุณภาพสูง

การทำงานของซีพียู (Central Processing Unit)





           การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำ สั่งหน้าที่หลักของซีพียูคือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบตลอดจนทำ การประมวลผล  กลไกการทำงานของซีพียูมีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงาน เป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนานและทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น






มีหน่วยสำคัญอยู่  2  หลักการคือ
            1. หน่วยควบคุม
         
            เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงานและควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ควบคุมให้อุปกรณ์รับข้อมูล ส่งข้อมูลไปที่หน่วยความจำติดต่อกับอุปกรณ์แสดงผลเพื่อสั่งให้นำข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังอุปกรณ์แสดงผล
  
            2. หน่วยคำนวณและตรรกะ
 เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการคำนวณต่างๆทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ บวก  ลบ  คูณ  หาร

หลักการทำงานของ CPU
โดยวงรอบของการทำคำสั่งของซีพียูประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนการรับเข้าข้อมูล  ( fatch ) เริ่มแรกหน่วยควบคุมรับรหัสคำสั่งและข้อมูลที่จะประมวลผลจากหน่วยความจำ
2. ขั้นตอนการถอดรหัส ( decode ) เมื่อรหัสคำสั่งเข้ามาอยู่ในซีพียูแล้ว หน่วยควบคุมจะถอดรหัสคำสั่งแล้วส่งคำสั่งและข้อมูลไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ
3. ขั้นตอนการทำงาน ( execute ) หน่วยคำนวณและตรรกะทำการคำนวณโดยใช้ข้อมูลที่ได้รับการถอดรหัสคำสั่ง และทราบแล้วว่าต้องการทำอะไร ซีพียูก็จะทำตามคำสั่งนั้น
 
4. ขั้นตอนการเก็บ ( store ) หลังจากทำคำสั่งก็จะเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในหน่วยความจำ

การทำงานของเมนบอร์ด (Mainboard)

- ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่งเนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้และทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ ชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยชิพ 2 ตัว คือชิพ System Controller และชิพ PCI to ISA Bridge
- ชิพ System Controller หรือ AGPSET หรือ North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลัก ๆ ความเร็วสูงชนิดต่าง ๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI
           - ชิพ PCI to ISA Bridge หรือ South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอมไออส ฟล็อบปี้ดิกส์ คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน

การทำงานของจอภาพ (Monitor)

        
            การทำงานของจอภาพเริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน เกิดเป็นอิเล็กตรอนขึ้นและถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอนให้ไปยังจุดที่ต้องการแสดงผลบนจอภาพ ซึ่งที่จอภาพจะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน ก็จะทำให้เกิดแสงสว่างซึ่งจะประกอบกันเป็นรูปภาพ ในการยิงลำแสดงอิเล็กตรอน มันจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวางจากนั้นเมื่อกวาดภาพ มาถึงสุดขอบด้านหนึ่งปืนลำแสงก็จะหยุดยิงและปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 line และเคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่งและทำการยิ่งใหม่ ลักษณะการยิงจึงเป็นแบบฟันเลื่อย  ปัจจุบันกระแสจอแบนได้เข้ามาแซงจอธรรมดาโดย
 เฉพาะประเด็นขนาดรูปทรง ที่โดดเด่น ประหยัดพื้นที่ในการวาง รวมทั้งจุดเด่นของจอภาพแบน ก็คือประหยัดพลังงาน โดยจอภาพขนาด 15 - 17 นิ้ว ใช้พลังงานเพียง 20 - 30 วัตต์ และจะลดลงเหลือ 5 วัตต์ในโหมด Standby ในขณะที่จอธรรมดา ใช้พลังงานถึง 80 - 100 วัตต์




สามารถแบ่งประเภทจอภาพ ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1.  จอภาพสีเดียว (Monochrome Monitor)
จอภาพที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวเวลานี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว
2.  จอภาพหลายสี (Color Monitor)
จอภาพที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 16 ล้านสี
3.  จอภาพแบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display)


การทำงานของการ์ดจอ (Graphic Card)




หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อโปรแกรมต่าง ๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จแล้วก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจรในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
การ์ดแสดงผลจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งานเพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผลบางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ด โดยทำหน้าที่ในการ ประมวลผลภาพแทนซีพียูไปเลย ช่วยให้ซีพียูมีเวลาว่ามากขึ้นทำงานได้เร็วขึ้น เมื่อได้รับข้อมูลจากซีพียูมาการ์ดแสดงผลก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง ถ้าการ์ดแสดงผล มีหน่วยความจำมาก ๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพ มีความเร็วสูงขึ้น และหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงก็ยิ่งดี เพราะจะมารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ยิ่งถ้าข้อมูล ที่มาจากซีพียู มีขนาดใหญ่ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ ๆ เพื่อรองรับการทำงานได้โดยไม่เสียเวลา ข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่ ๆ นั่นก็คือข้อมูลของภาพ ที่มีสีและความละเอียดของภาพสูง ๆ

 
[ VGA Card หรือ Display Adapter ]
มีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณ digital ให้เป็นสัญญาณภาพ โดยมี Chip เป็นตัวหลักในการประมวลการแปลงสัญญาณส่วนภาพนั้น CPU เป็นผู้ประมวลผลแต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีการประมวลผลภาพนั้น VGA card เป็นผู้ประมวลผลเองโดย Chip นั้นได้เปลี่ยนเป็น GPU (Grarphic Processing Unit) ซึ่งจะมีการประมวลภาพในตัว Card เองเลย เทคโนโลยีนี้เป็นที่แพร่หลายมากเนื่องจากราคาเริ่มปรับตัวต่ำลงมาจากเมื่อก่อนที่เทคโนโลยีนี้เพิ่งเข้ามาใหม่ ๆ โดย GPU ค่าย Nvidia

การทำงานของเมาส์ (Mouse)


เมาส์ เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อและควบคุมการใช้งานของเครื่อง คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้งานง่ายและสะดวกเนื่องจากไม่ต้องจดจำคำสั่งสำหรับป้อน เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้บนหน้าจอ ทำโดยการเลื่อนเมาส์ไปมาบนทุกๆ พื้นผิวเรียบ ซึ่งในการเลื่อนเมาส์แต่ละครั้งนั้นจะสัมพันธ์กับตำแหน่งของตัวชี้บนหน้าจอ และรับคำสั่ง เมื่อมีการกดปุ่มของเมาส์
  
1. Mechanical Mouse




 กลไก ภายในของเมาส์ลูกกลิ้งประกอบด้วยลูกบอลยางที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อทำการเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกบอลเคลื่อนไปในทิศทางนั้น ซึ่งตัวลูกบอลจะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้งโดยแกนของลูกกลิ้งจะต่อกับจานแปลรหัส (Encoder) ซึ่งบนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุด ๆ ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเมาส์เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัสก็จะ สร้างสัญญาณบอกไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแนวแกน x และแกน y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ เมาส์ลูกกลิ้งถูกออกแบบมาให้มีโครงสร้างที่ง่าย มีรูปร่างที่พอเหมาะกับมือ และใช้งานได้สะดวก เนื่องจากสามารถนำเมาส์ลูกกลิ้งไปใช้ได้ทุกที่ แต่ควรใช้กับแผ่นรองเมาส์ที่เป็นพื้นผิวเรียบ ส่วนลูกกลิ้งนั้นต้องออกแบบมาให้กลิ้งได้ง่าย ไม่ลื่นไถลมาก สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของเมาส์และจอ ภาพ

 
 2. Optical-Mechanical Mouse




เมาส์ประเภทนี้มีกลไกการทำงานคล้ายกับเมาส์ลูกกลิ้งเพียงแต่ตัวตรวจรับการเคลื่อนที่ของจาน Encoder นั้นใช้เป็น LED โดยบนจานถูกเจาะรูรอบ ๆ ในด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสงและอีกด้านหนึ่งจะมีทรานซิสเตอร์ไวแสงไว้คอยตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส
  
              
              3. Optical Mouse


          เมาส์ แบบใช้แสงเป็นเมาส์ที่พัฒนามาจากเมาส์ลูกกลิ้งซึ่งเมาส์ลูกกลิ้งมีจุดด้อย อยู่ตรงที่มีขีดจำกัดในการทำงานที่ต้องใช้งานบนพื้นผิวที่เรียบและความรวด เร็วในการใช้งานที่ช้าอีกทั้งยังมีความละเอียดต่ำ ทำให้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นเมาส์แบบใช้แสง
การทำงานของเมาส์ประเภทนี้ อาศัยหลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสง และเป็นตารางตามแนวแกน และ Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่ ซึ่งบนเมาส์ จะมี LED 2 ตัวให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำและสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีดำจะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงิน จะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสงเป็นทรานซิสเตอร์ไวแสง สีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ส่วนช่วงของแสงที่หายไปจะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่
           ข้อดีของเมาส์ประเภทนี้ คือ ทำให้ตัดปัญหาการเคลื่อนที่ที่ไม่คล่องตัวของเมาส์ อันเนื่องจากมีฝุ่นผงเกาะติดลูกบอลยางมากต้องถอดออกมาทำความสะอาดลูกบอลยาง บ่อยๆ ดังนั้นเมาส์ประเภทนี้จึงสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวก มีความถูกต้องของตำแหน่งที่ต้องการให้เคลื่อนที่ไปสูง และสามารถจะเคลื่อนเมาส์บนวัสดุอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง
  
             
                4. Wireless mouse





เมาส์ไร้สายเป็นเมาส์ที่ทำงานด้วยกลไกแบบลูกกลิ้งหรือแบบแสงก็ได้เพียงแต่ไม่มีสายต่อเท่านั้น เพราะจะใช้การส่งสัญญาณผ่านตัวรับไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์แทนที่จะผ่านทาง สายโดยตรง ซึ่งการพัฒนาเมาส์ไร้สายในช่วงแรกจะอาศัยเทคโนโลยีอินฟราเรด แต่ต่อมามีการพัฒนาไปใช้เทคโนโลยีคลื่นวิทยุ ทั้งนี้เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีอินฟราเรดนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องการส่งรับ สัญญาณ เครื่องส่งและเครื่องรับจะต้องอยู่ในแนวทิศทางเดียวกันและห้ามมีอุปกรณ์ใดๆ ขวางแนวการรับ-ส่งของคลื่น โดยเด็ดขาด แต่สำหรับเมาส์ที่ใช้เทคโนโลยีความถี่คลื่นวิทยุนี้จะไม่มีปัญหาในเรื่องดัง กล่าว ทำให้การใช้งานเมาส์มีความสะดวกมากขึ้นและใช้งานได้ในรัศมีความสะดวกมากขึ้น และใช้งานได้ในรัศมีที่กว้างขึ้น เนื่องจากคลื่นวิทยุสามารถทะลุผ่านอุปกรณ์กีดขวางใดๆ ได้ แต่จะต้องมีการติดตั้งเครื่องรับสัญญาณเพิ่มเติมที่เครื่องคอมพิวเตอร์
     
ข้อดีของเมาส์ประเภทนี้ คือ สามารถเลื่อนเมาส์ได้ในระยะที่อยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์มากขึ้น เนื่องจากไม่มีสายเป็นตัวกำหนดขอบเขตการทำงานอีกต่อไป 

              
                 5. Laser  Mouse



เมาส์เลเซอร์เกิดจากการคิดค้นและพัฒนาของ Logitech ซึ่งถือได้ว่าเป็นเจ้าแรกที่ผลิตเมาส์เลเซอร์ออกมาจุดน่าสนใจของเมาส์เลเซอร์อย่างแรกคือ ความแม่นยำ และการตอบสนองความต้องการของเมาส์ขณะทำงานที่ทำได้เร็วกว่าเมาส์แบบใช้แสง เพราะเมาส์แบบใช้แสง ใช้หลอด LED เป็นตัวปล่อยแสง ซึ่งแสงที่ได้จากหลอด LED นั้นเป็นเพียงหลอดไฟหลอดหนึ่งเท่านั้นการเดินทางของแสง ความแม่นยำ ความรวดเร็วในการทำงานย่อมด้อยกว่าเมาส์เลเซอร์ ที่ใช้แสงเลเซอร์เป็นตัวรับ-ส่งข้อมูลแทนแสงจากหลอด LED ข้อดีอีกข้อหนึ่งของเมาส์เลเซอร์ คือ การใช้งานบนพื้นผิวที่มีความมัน หรือไม่เรียบ พื้นไม้ ปกหนังสือ หน้าปกนิตยสาร ได้ค่อนข้างดี สะดวกกว่าเมาส์ออปติคพอสมควร แต่ข้อเสียของเมาส์ตระกูลที่ใช้แสงไม่ว่าจะเป็นเมาส์เลเซอร์ หรือเมาส์ออปติค คือ ไม่สามารถใช้งานบนพื้นผิวที่สามารถสะท้อนแสงได้

            
               6. Blue Track Mouse





เมาส์บลูแทร็ค เมาส์รุ่นใหม่ล่าสุดพัฒนาโดย Microsoft ซึ่ง ขณะนี้ถือเป็นเทคโนโลยีการผลิตเมาส์ที่ทันสมัยที่สุดในโลก ซึ่งคุณสมบัติของเทคโนโลยีนี้ใช้ลำแสงสีน้ำเงินแทนการใช้แสงสีแดงที่ใช้ใน เมาส์เลเซอร์ทั่ว ๆ ไป สามารถทำให้เมาส์ใช้งานได้บนทุก ๆ พื้นผิว ไม่ว่าจะเป็นบนพรม ไม้ หรือพื้นผิวขรุขระก็ตาม และในเมาส์ปกตินั้นจะมีการส่งลำแสงเลเซอร์ออกมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อวางบนพื้นผิวที่สกปรกหรือมีฝุ่น ก็จะขัดขวางการส่งสัญญาณข้อมูล ทำให้การทำงานผิดพลาดได้ง่าย แต่การส่งลำแสงเลเซอร์ของเมาส์บลูแทร็คนี้ เป็นแบบไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น มันจึงไม่อ่อนไหวต่อพื้นผิวที่มีฝุ่น และสามารถส่งข้อมูลได้อย่างมีคุณภาพ

การทำงานแป้นพิมพ์ (Keyboard)


การทำงานของคีย์บอร์ดจะเกิดจากการเปลี่ยนกลไกการกดปุ่มให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าส่งให้คอมพิวเตอร์โดยสัญญาณดังกล่าว จะบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ามีการกดคีย์อะไร การทำงานทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ขนาดเล็กที่บรรจุในคีย์บอร์ดและสัญญาณต่าง ๆ จะส่งผ่านสายสัญญาณผ่านทางขั้วต่อของแป้นพิมพ์ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. 5-pin DIN (Deustche Industrie Norm) connector  เป็นขั้วต่อขนาดใหญ่ ใช้กับคอมพิวเตอร์ในรุ่น
 แรก


 
2. 6-pin IBM PS/2 mini-DIN connector  เป็นขั้วต่อขนาดเล็ก ปัจจุบันพบได้อย่างแพร่หลาย




 
3. 4-pin USB (Universal Serial Bus) connector  เป็นขั้วต่อรุ่นใหม่




 
4. internal connector เป็นขั้วต่อแบบภายใน พบได้ใน Notebook Computer


การทำงานของซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)






       ซีดีรอมไดร์ฟ  (CD-ROM Drive)  หรือเครื่องขับคอมแพคดิสก์เป็นไดร์ฟที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอมเพียงอย่างเดียว  ส่วนใหญ่จะใช้งานในด้านการติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมต่าง ๆ รวมไปถึงงานที่เกี่ยวกับความบันเทิง เช่น  ดูหนัง  ฟังเพลง  และงานด้านมัลติมีเดียด้วย  โดยมีหน่วยความเร็วในการอ่านข้อมูลเป็น X   เช่น 48X  50X  หรือ 52X เป็นต้น  ในปัจจุบันแทบจะเรียกได้ว่าคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีไดร์ฟซีดีรอม  อย่างน้อยหนึ่งไดร์ฟเสมอ  ซึ่งได้กลายเป็นมาตรฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในตอนนี้แล้ว 
        
ซีดีรอมไดร์ฟจะอ่านข้อมูลด้วยความเร็วในการหมุนแผ่น  ที่ไม่คงที่ โดยจะอ่านข้อมูลที่อยู่วงนออกของแผ่นซีดีด้วยความเร็วสูง และจะค่อย ๆ ลดความเร็วลงมาเมื่ออ่านข้อมูลที่อยู่วงในสุดส่วนใหญ่  ซีดีรอมไดร์ฟจะอ่านข้อมูลที่อยู่ตรงกลางแผ่นเสียส่วนมาก  ทำให้ความเร็วเพียงแค่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของความเร็วสูงสุดที่มีเท่านั้น  ดังนั้นซีดีรอมไดร์ฟส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยทำงานที่ความเร็ว   สูงสุดของไดร์ฟเท่าใดนักอย่างเช่น ซีดีรอมไดร์ฟความเร็ว  50X  จึงไม่ใช่ความเร็วในการอ่านข้อมูลอย่างต่อเนื่อง   แต่จะเป็นความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีที่อยู่วงนอกสุด หลังจากนั้นค่อย ๆ ลดความเร็วลงมาเมื่ออ่านข้อมูลที่อยู่วงในด้วยความเร็วที่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของไดร์ฟก็จะประมาณ  20-25X  เท่านั้น
       ไดร์ฟที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลที่เราต้องการลงแผ่นซีดีรอมได้เรียกว่า  ซีดีไรท์เตอร์ไดร์ฟซึ่งสามารถ ใช้เขียนข้อมูลทุกอย่างที่เราต้องการลงบนแผ่นซีดีอาร์  และแผ่นซีดีอาร์ดับบลิว  ปัจจุบันแผ่นซีดีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 3  ประเภทได้แก่
       
1.   แผ่นซีดีรอม  (CD-ROM)  เป็นแผ่นซีดีแบบอ่านได้อย่างเดียว
       2.  
แผ่นซีดีอาร์  (CD-R)  เป็นซีดีแบบเขียนได้  แต่เขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
       
3.  แผ่นซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW)  เป็นแผ่นซีดีแบบเขียนซ้ำได้หลายครั้ง




          ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็ก เตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก “แลนด์” สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก “พิต” ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น

การทำงานของฮาร์ดดิสก์ (hard disk drive)

              การทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้น ตัวแผ่นจานจะหมุนเร็วมาก (หลายพันถึงกว่าหมื่นรอบต่อนาที) โดยที่หัวอ่าน/เขียน ซึ่งเป็นอุปกรณ์แม่เหล็กจะลอยเหนือแผ่นแพลตเตอร์ทั้งสองด้านในระยะห่างที่ เล็กกว่าขนาดของเส้นผมมนุษย์ การทำงานจะอาศัยการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก โดยที่หัวอ่าน/เขียน จะไม่มีโอกาสสัมผัสกับผิวของแพลตเตอร์แต่อย่างใด เพื่อป้องกันการกระทบกับผิวของแพลตเตอร์ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลบนแผ่นเสียหายได้ปัจจุบันมีผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ออกมาจำหน่าย หลายยี่ห้อด้วยกัน ซึ่งแต่เดิมมีความจุไม่มากเท่าไร แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ดีกว่าเดิม ทำให้การจัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์มีขนาดความจุที่มากขึ้นในระดับหลายร้อย กิกะไบต์ (ซึ่งมากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์นับแสนเท่า) และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งสามารถรองรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่หรือไฟล์ประเภทมัลติมีเดียต่าง ๆ เช่น ไฟล์ภาพยนตร์ วิดีโอ เสียงเพลง ภาพกราฟิก ได้อย่างเพียงพอการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์มาใช้งาน อาจไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความจุข้อมูลที่มากเกินความจำเป็นก็ได้ แต่ควรคำนึงถึงรูปแบบการทำงานเป็นหลักว่า มีความต้องการบันทึกข้อมูลประเภทใด และฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่นั้นเพียงพอหรือไม่ ซึ่งหากไม่พอก็สามารถหาหรือเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์แบบถอดได้มาเพิ่มเติม

การทำงานของแรม (RAM) (Random Access Memory)




RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น


SDRAM

    อาจจะกล่าวได้ว่า SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) นั้นเป็น Memory ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าไปเสียแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการทำงานในช่วง Clock ขาขึ้นเท่านั้น นั้นก็คือ ใน1 รอบสัญญาณนาฬิกา จะทำงาน 1 ครั้ง ใช้ Module แบบ SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณเดียวกัน



 
DDR - RAM

หน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่องความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ

DDR-SDRAM จะมีพื้นฐานเหมือนกับ SDRAM ทั่วไปมีความถี่ของสัญญาณนาฬิกาเท่าเดิม (100 และ 133 เมกะเฮิรตซ์) เพียงแต่ว่า หน่วยความจำแบบ DDR นั้น จะสามารถขนถ่ายข้อมูลได้มากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า เนื่องจากมันสามารถขนถ่ายข้อมูลได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงของหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ในขณะที่หน่วยความจำแบบ SDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้เพียงขาขึ้นของรอบสัญญาณนาฬิกาเท่านั้น
ด้วยแนวคิดง่าย ๆ แต่สามารถเพิ่มแบนด์วิดธ์ได้เป็นสองเท่า และอาจจะได้พบกับหน่วยความจำแบบ DDR II ซึ่งก็จะเพิ่มแบนด์วิดธ์ขึ้นไปอีก 2 เท่า จากหน่วยความจำแบบ DDR (หรือเพิ่มแบนด์วิดธ์ไปอีก 4 เท่า เมื่อเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM) ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะจะว่าไปแล้วก็คล้ายกับกรณีของ AGP ซึ่งพัฒนามาเป็น AGP 2X 4X และ AGP 8X

หน่วยความจำแบบ DDR จะใช้ไฟเพียง 2.5 โวลต์ แทนที่จะเป็น 3.3 โวลต์เหมือนกับ SDRAM ทำให้เหมาะที่จะใช้กับโน้ตบุ๊ก และด้วยการที่พัฒนามาจากพื้นฐานเดียว DDR-SDRAM จะมีความแตกต่างจาก SDRAM อย่างเห็นได้ชัดอยู่หลายจุด เริ่มตั้งแต่มีขาทั้งหมด 184 pin ในขณะที่ SDRAM จะมี 168 pin อีกทั้ง DDR-SDRAM ยังมีรูระหว่าง pin เพียงรูเดียว ในขณะที่ SDRAM จะมี 2 รู ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า DDR-SDRAM นั้น ไม่สามารถใส่ใน DIMM ของ SDRAM ได้ หรือต้องมี DIMM เฉพาะใช้ร่วมกันไม่ได้